การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์

ไข่ไก่อินทรีย์

พันธ์ไก่ไข่ที่นำมาเลี้ยงในระบบอินทรีย์สามารถใช้พันธ์ใดก็ได้ถ้าต้องการเลี้ยงแบบใช้ต้นทุนค่าอาหารต่ำ ให้ผลผลิตได้ดีพอสมควรสามารถเลี้ยงไก่พันธ์แท้ เช่น ไก่โรดไอร์แลนด์แดง ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีแล้ว หรือไก่ไข่สายพันธ์ทางการค้าที่ให้ผลผลิตไข่สูง แต่ต้องเลี้ยงดูอย่างดี หรือหากต้องการเอกลักษณ์เฉพาะฟาร์มของตนเองการเลี้ยงไก่ไข่พันธ์แท้สายพันธ์ขาว ซึ่งให้ไข่ที่มีเปลือกสีขาวก็สามารถสร้างความแตกต่างจากไก่ไข่พันธ์ทั่วไปได้

การจัดการเลียงไก่ไข่อินทรีย์

ในการจัดการเลียงดูจึงต้องให้ไก่ได้รับอาหารและน้ำอย่าง สม่ำเสมอ ปล่อยไก่ให้ออกนอกโรงเรือนหลังจากไก่วางไข่และได้ รับอาหารในตอนเช้า โดยทั่วไป สามารถปล่อยไก่ออกนอกโรง เรือนได้ คือ หลังจาก 10.00 น. เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่บางตัวออก วางไข่นอกโรงเรือน และเมื่อถึงช่วงเวลาเย็นก่อนทีจะมืด ควรให้อาหารไก่อีกครั้ง เพื่อให้ไก่ได้มีเวลากินอาหารก่อนมืด และได้จัดหา ทีนอนบนคอนตามพฤติกรรมธรรมชาติ เพื่อปองกันไก่ไม่ให้เข้าไป นอนในรังไข่ และถ่ายมูลในรังไข่ ซึงจะมีผลทำให้ผลผลิตไข่สกปรก จึงควรหัดให้ไก่รู้จักทีนอนและทีไข่ โดยเมือนำไก่สาวเข้ามาเลียงใหม่ๆ ด้องขึงตาข่ายปดส่วนที่เป็นรังไข่ เพื่อปองกันไก่เข้าไปนอน ในช่วงเย็นไก่จะมานอนบนคอนทีเตรียมไว้ให้ และในตอนเช้า ให้เปิดตาข่ายออก เพื่อให้ไก่เข้าไปทำความคุ้นเคยกับรังไข่ก่อนจะเริ่มวางไข่ ทำเช่นนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 1 เดือน หลังจากนั้น ไก่จะมีปรับ ตัว ความคุ้นเคยกับพื้นทีต่างๆในโรงเรือนเอง

สำหรับไก่ไข่ที่มีอายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป แนะนำให้เลี้ยง 5-6 ตัว ต่อพื้นที่  1 ตารางเมตร

ดังนั้นไก่ไข่ 100 ตัว จะต้องใช้โรงเรือนขนาด 6×3 = 18 ตร.ม.(โรงเรือนสูงตั้งแต่ 2.5 เมตรขึ้นไป เพื่อความโล่งและอากาศถ่ายเทสะดวก) หลังคาสำหรับกันแดดและฝนที่ทำมาจาก กระเบื้อง สังกะสี หรือใบจาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และอุปกรณ์ที่หาได้สะดวกในท้องถิ่นนั้นๆ

อาหารและน้ำไก่ไข่อินทรีย์ ข้อกำหนดอาหารทีใช้สำหรับเลียงไก่ไข่อินทรีย์

อาหารต้องประกอบด้วยวัตถุดิบทีผลิตจาก ระบบอินทรีย์อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุแห้ง

ห้ามใช้สารสังเคราะห์เติมลงในอาหาร

ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา

วัตถุดิบทีใช้ส่วนใหญ่มาจากพืชทีปลูกในระบบอินทรีย์ซึง ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยรับรองแล้ว เช่น ปลายข้าว รำ ข้าวโพด ถัวเหลือง และกระถิน

วัตถุดิบชนิดอื่นทีไม่ได้มาจากระบบอินทรีย์ ได้แก่ ปลาปน หินเกล็ด ไดแคลเซียมฟอสเฟต

อาหารและน้ำไก่ไข่อินทรีย์ ตัวอย่างสูตรอาหารสำหรับไก่ไข่ทีเลียงในฟาร์ม

การสุขาภิบาล

นอกจากการแยกพื้นทีเลียงไก่ออกจากทีอยู่อาศัยและมีรัว ล้อมรอบแล้ว การจัดการระบบสุขาภิบาลเพื่อปองกันการ แพร่กระจายเชื้อโรคในพื้นทีเลียงก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยสิงทีจำเป็นต้องมีภายในพื้นทีเลียงไก่ คือ

1.คอกสำหรับแยกไก่ป่วยจากไก่ปกติ

2.อ่างน้ำยาจุ่มเท้าก่อนเข้าฟาร์มทีใช้ยาฆ่าเชื้อทีได้รับ อนุญาต หรือใช้นำส้มควันไม้ก็ได้

3.มีอ่างล้างมือ

การดูแลสุขภาพไก่

นิยมใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรบดผสมในอาหารให้ ไก่กินเพื่อการปองกันโรคหรือรักษาอาการหวัด หากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องมีระยะเวลา ปรับเปลี่ยนก่อนทีจะนำผลผลิตมาขายเป็นไข่ อินทรีย์อีกครั้งอย่างน้อย 6 สัปดาห์

การทำบรรจุภัณฑ์ไข่ไก่อินทรีย์

ในการบรรจุผลผลิตไข่อินทรีย์เพื่อจัดจำหน่าย จะต้องทำในบริเวณทีสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนจากสิงไม่พึงประสงค์ หรือมีสิงพาหะนำโรค เช่น หนู นก และแมลง

ควรบรรจุในหีบห่อที่ทำจากวัสดุทีย่อยสลายทางชีวภาพได้ ไม่ทำลายสภาพ แวดล้อม ในการเก็บรักษาและขนส่ง ควรรักษาความเป็นผลิตผลอินทรีย์ ด้วยโดยการไม่นำไปปนกับผลิตภัณฑ์ทีไม่ใช่อินทรีย์ หรืออยู่ใกล้สารเคมีใดๆ

บรรจุภัณฑ์ทีนิยมใช้บรรจุไข่ไก่อินทรีย์ คือกล่องกระดาษทีมีขนาดบรรจุ 6 และ 10 ฟอง

วรศิลป์ มาลัยทอง และ ทองเลียน บัวจูม.(2563).การเลียงไก่ไข่อินทรีย์สไตล์แม่โจ้ การเลียงไก่ไข่อินทรีย์สไตล์แม่โจ้ (Raising organic laying hens in Maejo style).สืบค้นเมื่อ มกราคม 2567

สืบค้นได้จาก

http://www.as2.mju.ac.th/E-Book/t_prapakorn/%E0%B8%AA%E0%B8%A8241/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%202560.pdf

Mutchukan Phimakson

Mutchukan Phimakson

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *