การปลูกผักอินทรีย์

vegetable seedlings

สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดผักที่แนะนำด้านล่างนี้เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยง จากการที่ต้องเพาะเมล็ดผักซ่อมในกรณีที่เราเพาะลงในฟองน้ำหรือวัสดุปลูกโดยตรง
แล้วเมล็ดงอกไม่สม่ำเสมอกันหรือเมล็ดไม่งอก ทำให้เราต้องเสียเวลาในการเพาะซ่อมเมล็ดผักที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่งอกทำให้ผักในแปลงปลูกอายุไม่เท่ากัน
สำหรับผู้ที่ต้องการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรงสามารถทำได้ แต่แนะนำให้เพาะเผื่อไว้กันพลาด อย่างเช่นการเพาะเมล็ดผักปกติกเราจะใส่ 1
เมล็ดต่องฟองน้ำ 1 ก้อน ก็ให้เราใส่ไปประมาณ 2 – 3 เมล็ด เมื่อต้นเกล้าอายุได้ประมาณ 7 วัน ก็ให้เลือกต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ 1 ต้น ที่เหลือก็ถอนออก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเมล็ด
1. ถาดพลาสติกสูงประมาณ 1 นิ้ว (สำหรับอนุบาลต้นกล้า)
2. ถาดพลาสติกเล็ก หรือกล่องถนอมอาหารก็ได้ (สำหรับเพาะเมล็ด)
3. กระดาษชำระ
4. เมล็ดผักที่จะทำการเพาะ
5. ฟ๊อกกี้ (ที่สเปรย์น้ำ)
6. กระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกทึบแสง
7. ฟองน้ำสำหรับปลูกพืช
8. ไม้จิ้มฟันปลายแหลม
วิธีการเพาะเมล็ดผัก (แบบไม่เคลือบ)
สำหรับเมล็ดสลัดแบบเคลือบสามารถข้ามขั้นตอนการกระตุ้นการงอกโดยนำเมล็ดฝังลงวัสดุปลูกได้เลย โดยฝังเมล็ดในวัสดุปลูกลึกประมาณ 2 – 4 มิลลิเมตร รดน้ำให้พอชุ่มและคลุมถาดเพาะไว้เพื่อรักษาความชื้นให้วัสดุปลูก นำถาดเพาะมาวางไว้ที่มีอุณหภูมิไม่สูงเกินไปให้อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 25 องศา C จะทำให้เมล็ดงอกได้สม่ำเสมอกัน

vegetable seedlings
vegetable seedlings

1. นำกระดาษชำระวางลงบนถาดขนาดเล็กหรือจาน โดยวางกระดาษชำระซ้อนกันประมาณ 2 – 3 ชั้น

2. นำเมล็ดผักที่ต้องการปลูกโรยลงบนกระดาษชำระ

3. ฉีดฟ๊อคกี้ให้ทั่วถาดเพาะเมล็ดผักให้กระดาษพอเปียก แต่อย่าให้แฉะหรือมีน้ำขังในถาด ถ้ามีน้ำขังให้เทน้ำออกให้หมด

(น้ำที่ใช้เป็นน้ำดื่มสะอาด ห้ามใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากคลอรีนในน้ำประปาจะทำให้เมล็ดเน่า และไม่งอกได้)

4. นำกระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกทึบแสงนำมาปิดถาดเอาไว้เพื่อรักษาความชื้นให้กับเมล็ดผัก อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกของผักอยู่ที่ 18 – 25 องศา C

และใช้กระบวนการงอกจากเมล็ดผักใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง จึงควรนำถาดเพาะมาวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศค่อนข้างเย็น (ถ้าเป็นห้องปรับอากาศได้จะยิ่งดีมากเพราะจะทำให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น)

5. เมื่อผ่านไปประมาณ 2 วัน หลังจากเพาะเมล็ดผัก ให้สังเกตุดูที่เมล็ดผัก จะเริ่มมีรากสีขาวของต้นกล้างอกออกมาประมาณ 2 มิลลิเมตร

ก็สามารถย้ายลงปลูกในก้อนฟองน้ำได้เลย อย่าปล่อยให้เกิน 2 วัน เพราะช่วงนี้รากของผักจะยาวเร็วมาก ถ้าย้ายช้ากว่านั้นรากจะติดกับกระดาษชำระทำให้ดึงออกได้ยาก

แต่ถ้ารากยาวมากให้เราแก้ไขโดยใช้ฟ็อคกี้ค่อยเสปรย์น้ำลงไปให้กระดาษฉุ่มน้ำพอกระดาษอ่อนนิ่มแล้วจะทำให้เราใช้คีมเล็กๆค่อยๆ ดึงเมล็ดผักออกมาได้ง่ายโดยที่รากจะไม่ขาด

6. ให้นำฟองน้ำที่จะใช้ในการปลูกเรียงในถาดเพาะ แล้วเทน้ำสะอาดให้เต็มถาดอนุบาล (น้ำที่ใช้เป็นน้ำดื่มสะอาด ห้ามใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากคลอรีนในประปาจะทำให้รากเน่าได้) จากนั้นใช้มือกดก้อนฟองน้ำเพื่อไล่อากาศจากก้อนฟอง และให้น้ำดูดซับน้ำเข้าไปแทน แล้วเทน้ำลงไปในถาดเพิ่ม ใช้มือกดก้อนฟองน้ำอีกครั้งเพื่อให้ก้อนฟองน้ำอิ่มน้ำ

แล้วเทน้ำในถาดอนุบาลให้สูงเกือบท่วมก้อนฟองน้ำ โดยห่างจากด้านบนฟองน้ำประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร

7. นำเมล็ดผักที่เพาะได้ประมาณ 1 – 2 วัน ที่มีรากสีขาวงอกออกมา (เลือกเมล็ดผักที่งอกใกล้เคียงกัน) นำไม้จิ้มฟัน หรือคีมเล็กๆ ค่อยๆ คีบเมล็ดที่มีรากงอก

นำรากไปสอดในช่องตรงกลางของฟองน้ำ (ต้องระมัดระวังอย่าให้รากหักหรือพับงอ) โดยสอดเมล็ดผักลงไปให้ส่วนท้ายของเมล็ดผักโผล่จากก้อนฟองน้ำเล็กน้อย

ช่วงนี้แนะนำให้ถาดเพาะโดนแสงสว่างธรรมชาติช่วงเช้าหรือเย็น บ้างอย่างน้อย 2 – 4 ชั่วโมงต่อวัน

– ผักสลัดให้ใส่ 1 เมล็ดต่อฟองน้ำ 1 ก้อน

– ผักไทย,ผักจีนให้ใส่ 2 – 3 เมล็ดต่อฟองน้ำ 1 ก้อน

8. เมื่อครบ 4 – 5 วัน หลังจากเพาะเมล็ดผัก ต้นกล้าจะงอกใบเลี้ยงคู่ออกมาให้คอยรักษาระดับน้ำในถาดให้สูงประมาณ 1/2 ของฟองน้ำอย่าให้น้ำในถาดแห้ง

ให้ใช้น้ำเปล่าเติมลงในถาด (น้ำที่ใช้เป็นน้ำดื่มสะอาด ห้ามใช้น้ำประปาที่มีคลอรีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากคลอรีนในประปาจะทำให้เกิดโรครากเน่า และโคนเน่าได้)

ให้นำถาดอนุบาลต้นกล้า ไปวางรับแสงแดดในตอนเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงต่อวัน (ความถี่แสงสีแดงช่วยเร่งอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้าได้ดี

โดยเฉพาะแสงแดดในช่วงเช้าประมาณ 6.00 – 9.00 โมง และช่วงเย็น 16.00 – 18.00 เป็นช่วงที่มีแสงสีแดงมากที่สุด)

9. เมื่อครบ 7 วัน หลังจากเพาะเมล็ดผัก ต้นกล้าเริ่มมีใบจริง งอกออกมาให้เทน้ำเก่าในถาดอนุบาลออกให้หมด แล้วนำน้ำผสมธาตุอาหาร A, B แบบเจือจาง

เติมลงไปในถาดแทนน้ำเดิม และลดระดับน้ำให้เหลือ 1/3 ของก้อนฟองน้ำ และเพิ่มระยะเวลาในการรับแสงแดดของต้นกล้า 5 – 6 ชั่วโมง/วัน

การเพิ่มปริมาณแสงแดดให้ต้นเกล้าจะทำให้ต้นเกล้าแข็งแรงและเคยชินกับแสงแดดทำให้เวลาย้ายลงปลูกผักจะไม่มีอาการเฉี่ยวเฉาได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดดแรงๆ

– ผักสลัด ปุ๋ย A, B อย่างละ 1 – 2 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร

– ผักไทย ปุ๋ย A, B อย่างละ 2 – 3 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร

10. เมื่อครบ 14 วัน (2 สัปดาห์) ต้นกล้าผักก็พร้อมที่ย้ายลงแปลงปลูกได้แล้ว มีข้อปฎิบัติดังนี้

(ระยะเวลาการอนุบาลในแต่ละฤดูอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นปัจจัย บางฤดูอาจใช้เวลาอนุบาลเพียง 10 วันก็สามารถย้ายลงปลูกได้เลย โดยเราจะสังเกตุได้จากต้นเกล้าเป็นหลักถ้าต้นเกล้ามีใบจริงอย่างน้อย 2 ใบก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ) สำหรับฟาร์มใหญ่ๆ มักจะมีแปลงอนุบาลในแต่ละช่วงอายุผัก ก็สามารถย้ายลงอนุบาลได้ตั้งแต่เกล้าอายุได้ประมาณ 5 – 7 วัน จะทำให้รอบการปลูกแต่ละรอบสั้นลง โดยก่อนย้ายเกล้าผักลงแปลงให้ปฎิบัติดังนี้

– ให้สเปรย์น้ำให้ทั่วก้อนฟองน้ำก่อนย้ายลงแปลงปลูก และควรเลือกย้ายในช่วงเย็น เนื่องจากช่วงเย็นจนถึงค่ำ พืชจะปรับตัวได้ดีกว่าช่วงกลางวัน และลดความเสี่ยงที่ต้นเกล้าจะเฉาตายจากแดดได้

– ให้เลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์และมีขนาดต้นใกล้เคียงกันลงแปลงปลูก

11. นำต้นกล้าใส่กระถางปลูก (สอดต้นกล้าจากด้านล่างกระถางเพื่อป้องกันการพับหักงอของรากพืชจากการใส่ฟองน้ำจากด้านบนกระถาง) โดยให้ก้นของฟองน้ำโผล่ออกมาจากก้นกระถาง

12. นำต้นกล้าที่สวมกระถางปลูกแล้วไปใส่ในช่องปลูกของรางปลูก โดยสังเกตุว่าก้นของฟองน้ำสัมผัสกับน้ำในรางปลูกหรือไม่ หากยังไม่สัมผัสก็ให้ขยับฟองน้ำลงมาเพื่อให้ก้นของฟองน้ำแตะกับน้ำในรางปลูก (ให้น้ำในรางปลูกสัมผัสกับฟองน้ำประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร)

Sirilak Bun

Sirilak Bun

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *